วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เกร็ดเล็ก เกล็ดน้อย นกกรงหัวจุก



1. นกผลัดขน นกผลัดขนต้องเข้าใจธรรมชาติก่อนว่า จะผลัดขนช่วงเข้าหน้าฝน พอปลายฝนต้นหนาว ขนกลับมาสวยเหมือนเดิม ดังนั้นช่วงที่ผลัดขนเป็นช่วงที่อ่อนแอที่สุด สาเหตุที่นกผลัดขนนานหลายเดือนอาจเป็นเพราะ 1.อาหารไม่สมบูรณ์ ผลไม้ หนอน ถ้านกใต้ก็แกงคลุกข้าว ตั๊กแตน ฯลฯ 2.นำออกตากแดดแก่ ๆ เป็นสาเหตุให้ขนอ่อนที่ขึ้นมาใหม่เสียและไม่มีมัน 3.นำเข้าราวซ้อมหรือนำนกไปเทียบนก อันนี้สำคัญมากนอกจากจะทำให้ถ่ายไม่เลิกแล้วยังทำให้นกเสียไม่ฟื้นเลยก็มี เนื่องจากร่างกายอ่อนแอ 4.เป็นที่ตัวนกเอง เรียกว่านกเล่นไม่ได้ นกเล่นได้ต้องถ่ายทีเดียวทั้งตัว ทั้งขนตัว จุก แก้ม ปีก หาง พร้อมกันทั้งหมด นกเล่นไม่ได้ เดี๋ยวถ่ายปีก ถ่ายปีกเต็มก็ถ่ายจุก ถ่ายจุกเต็มก็ถ่ายแก้ม ถ่ายแก้มเสร็จหางหลุดถ่ายหางอีก 2.นกตีลังกา วิธีแก้ที่เคยใช้ได้ผล ให้เอาเชือกสีดำเส้นเล็กพอประมาณ ผูกใต้หลังคาระหว่าง ซี่กรงด้านหนึ่งไปอีกซี่กรงอีกด้านหนึ่ง ด้านละสองเส้นไขว้กัน ห่างกันพอประมาณ พอนกจะตีลังกาพอเห็นเชือกจะผวา แต่ถ้าไม่ได้เกิดจากนิสัยดั้งเดิม 2 อาทิตย์ก็หาย ถ้าเกิดจากนิสัยก็นานหน่อย แล้วแต่ลักษณะ(ทรง)ของกรง นกเคยอยู่กรงหลังคาติดแอร์พอมาใส่กรงหลังคาโล่ง ๆ นกก็อาจตีลังกาได้ หรืออาจปล่อยกรงใหญ่ แล้วเอายา bio - b 12 ละลายน้ำให้กินแก้เครียดจากการย้ายที่ด้วยจะดีมาก 3.ตารางการเลี้ยงนกกรง สำหรับท่านที่ไม่ค่อยมีเวลา 1.เช้าก่อนไปทำงานเวลาไหนก็ได้ นำนกเปิดผ้าคลุม ล้างถาดรองขี้นก อย่าเช้าเกินไปถ้าเปิดผ้าเช้าเกินไปนกจะลงอาบน้ำในถ้วยน้ำ ซัก 7 โมง หรือแดดเริ่มออกก็ใช้ได้ 2.ให้อาหารผลไม้ อาหารสำเร็จรูป รวมทั้งหนอน 2-3 ตัวใส่รวมไว้ในถ้วยอาหารเลย 3.หาที่แขวนนก ที่สามารถโดนแดด ตั้งแต่ เช้าไปจนถึงประมาณ 11 โมง ถ้าแถวบ้านมีเหยี่ยว ให้ระวัง เอาผ้าคลุมคลุมไว้ที่ด้านบนกรง และให้ชายผ้าย้อยลงมาทางด้านกรงที่ไม่ถูกแดดเพื่อให้นกสามารถหลบเหยี่ยวได้ และควรนำกระจกสะท้อนแสง มาวางไว้ในที่ที่แดดส่องเช่นที่พื้นใต้ที่แขวนทำมุมสะท้อนประมาณ 35-45 องศา เหยี่ยวเห็นแสงจะไม่ลง ลักษณะมงคลของนกปรอดหัวโขน นกปรอดหัวโขนเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่กลุ่มคนเลี้ยงมีความเชื่อในโชคลาง ว่าหากได้เลี้ยงนกปรอทหัวโขนจะมั่งมีศรีสุข เงินทองไหลมาเทมา โดย เฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ชาวจีนมักจะเลี้ยงนกนี้เพื่อประดับบารมีและเสริมอำนาจ วาสนา ลักษณะ อันเป็นมงคลของนกปรอดหัวโขนได้แก่ สังเกตจากส่วนหัวจะทรงใหญ่ แต่ไม่ใหญ่จนเกินไป ส่วนที่เป็นหัวโขนตรงโคนมีขนขึ้นดกหนาตั้งแต่ขอบตาด้านหน้าขนเลยขอบตา ด้านหลังไปเล็กน้อย แล้วตั้งตรงขึ้นไปเป็นปลายแหลมเกือบเป็นสามเหลี่ยม หน้าจั่ว จากนั้นพิจารณานัยน์ตา สังเกตตานัยน์ตาของนกปรอดหัวโขนถ้าเหมือนตาเหยี่ยวจะเป็นนกที่สู้นกอย่างไม่รู้จักเหน็ดรู้จักเหนื่อย และอดทน หรือ หากนัยน์ตาคมใสจะว่าหวานก็ไม่หวาน จะว่าดุก็ไม่ดุ จะไวต่อสถานการณ์รอบข้าง เป็นนกที่ชอบสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว และควรสังเกตเรียวปากของนก หากคล้ายเรียวปากนกอินทรีย์ จะเป็นนกที่ทรงอานุภาพที่จะต่อกรกับศัตรู สำหรับแต้มสีแดงใต้ตาต้องเด่นชัดเขน ส่วนขนคลุมหลังต้อง หนาแน่น หน้าอกนูนใหญ่เกือบๆ จะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วเพียงแต่ปลายออก มนๆ เล็กน้อย มีความคล่องแคล่วและร่าเริงด้วยเสียงร้องแจ่มชัด ไม่มีเสียงแหบหรือหลง จึงเป็นยอดนกที่สมควรเลี้ยงหาเพื่อความเป็นมงคลยิ่งนัก

การฝึกนกกรงหัวจุกเพื่อเข้าแข่งขัน



หลังจางที่เลี้ยงและฟูมฟักดูแลรักษานกมาเป็นอย่างดีแล้วควรเริ่มซ้อม แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ก้าวกระโดด เมื่อแขวนนกแล้วลองสังเกตว่านกเริ่มสู้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่สู้ให้ยกนกออกไปจากราวไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปแขวนไว้ที่อื่นห่างออกไปก่อน เพราะหากยังแขวนไว้จะทำให้นกแพ้และไม่สู้นกตัวอื่นอีกเลย ต้องขยันหิ้วนกไปเที่ยวและต้องซ้อมบ่อยๆโดยซ้อมสัปดาห์ละ1-2 วัน ช่วงเวลาการซ้อมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความเคยชินกับสนามแล้วจึงแยกออกไปแขวนห่างๆ เพื่อให้นกเกิดความคึกคะนองก่อนจะนำนกไปเที่ยวหรือไปสนามซ้อม ต้องใช้ผ้าคลุมกรงนกทุกครั้ง เพื่อให้นกตื่นตกใจน้อยที่สุด ควรเปลี่ยนกรงนกบ่อยๆ เพื่อให้นกคุ้นเคยกับการเปลี่ยนที่อยู่ใหม่ ป้องกันการตื่นตกใจกลัวเนื่องจากความไม่ชินกับสภาพกรงที่ผิดแผกไปจากเดิม ทำให้นกมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาในวันปกติให้แขวนนกแต่ละตัวให้ห่างกัน เพื่อไม่ให้เห็นกัน ให้ได้ยินแค่เสียงร้องก็พอ เพื่อนกจะได้คึกคัก ให้นกอาบน้ำในเวลาบ่ายหรือยามเย็นประมาณ 15.00-17.00 น แต่งตัวและตากขนให้แห้งสนิทก่อนจะเก็บไว้ทุกวัน เพื่อเพิ่มความสวยงามและปลอดโปร่งสบายให้แก่นก เพราะนกกรงหัวจุกชอบความสะอาดดูแล ความเรียบร้อยของตังเองอยู่เสมอต้องเปลี่ยนน้ำกินและน้ำอาบทุกวัน ล้างถาดรองขี้นกทุกวัน กรงสะอาดจะทำให้นกสดชื่นคึกคัก ให้ลองสังเกตดูว่าหากนกไม่ได้อาบน้ำและไม่ล้างทำความสะอาดหลายๆวันนกจะสลัดขนอ่อน บนลำตัวออกและมีอาการซึม ขณะที่แขวนนกตัวที่มีท่าทีว่าจะคึก ให้หมั่นเอานกล่อนกที่ไม่สู้ หรือไม่คึกไปเทียบบ่อยๆ ให้ห่างกันเล็กน้อย เพื่อให้นกมีอาการคึกคักพร้อมจะสู้และสร้างความมั่นใจว่าตังเองขู่ตัวอื่นได้ นกจะมีความมั่นใจและเก่งมากขึ้น เมื่อนำไปแขวนที่ราวซ้อมนกจะพร้อมต่อสู้กับตัวอื่นตลอดเวลาโดยไม่กลัว เนื่องจากนกมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันเพื่อเป็นการเรียนรู้นิสัยของนก เราจึงต้องสังเกตและเอาใจใส่เพื่อจะได้รู้จักนกของเราอย่างแท้จริง เช่น ชอบกระโดดเกาะหรือชอบวิ่งถ้วย ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อนำนกไปแข่ง นกจะพร้อมสู้ตลอดเวลาไม่เบื่อหน้ากันให้ใช้ผ้าคลุมกรงนกเพื่อให้นกพักผ่อนได้เต็มที่ ก่อนถึงวันแข่งขัน1-2วันให้เปลี่ยนกรงนกที่เป็นกรงแข่งมีลวดลายสวยงาม ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งเตรียมไว้เฉพาะเพื่อความคุ้นเคย วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มเลี้ยง ซึ่งยังไม่มีนกที่ดีและเก่งพอที่จะเป็นนกครูฝึกได้

นกกรงหัวจุก



“นกกรงหัวจุก" เป็นชื่อการค้าหรือภาษาที่ใช้ทั่วไป หรือ " นกปรอดหัวโขนและนกปรอดหัวโขนเคราแดง” มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Red-whiskered Bulbul และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus jocosus (Linnaceus) ในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย โดยชนิดย่อย Pycnonotus jocosus pattani พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันตก และชนิดย่อย Pycnonotus jocosus emeria พบเฉพาะภาคตะวันตก อาหารตามธรรมชาติ ได้แก่ ผลไม้ ตัวหนอนและแมลง สำหรับผลไม้ขนาดเล็ก เช่น ไทร หว้า และตะขบ เป็นต้น นกจะใช้ปากเด็ดผลไม้ออกจากขั้วและกลืนทั้งผล หากเป็นผลไม้ขนาดใหญ่กว่าจะกลืนได้ เช่น ชมพู่ กล้วย มะละกอ หรือมะม่วง นกจะใช้ปากจิกผลไม้สุกในส่วนที่ติดกับขั้วทีละชิ้นๆ
การผสมพันธุ์ ในธรรมชาตินั้นนกชนิดนี้มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม แต่ในกรงเลี้ยงอาจผสมพันธุ์ทั้งปีก็เป็นได้ รังเป็นรูปถ้วยเล็ก ๆ ประกอบด้วยกิ่งไม้ขนาดเล็ก ใบไม้แห้ง ต้นหญ้าและใบหญ้า อาจจะเชื่อมวัสดุให้ติดกันด้วยใยแมงมุม ปรกตินกจะวางไข่ 2- 4 ฟอง และใช้เวลากกไข่ประมาณ 12 - 14 วัน โรคหรือความผิดปรกติที่พบได้บ่อย โรคภัยไข้เจ็บของนกกรงหัวจุกนี้มีไม่มาก เพราะเป็นนกพื้นเมืองของประเทศไทยอยู่แล้ว จึงมีความทนทานมากพอควร ที่พบบ่อย ๆ เป็นโรคหวัดเรื้อรัง ฉะนั้นเมื่อพบว่านกเริ่มซึม ไม่ร้องเสียงใสเช่นเคย จามหรือไอบ่อย ๆ กินอาหารลดลงหรือไม่กิน ต้องรีบพาไปหาสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านรักษานก
ปัญหาความผิดปรกติที่พบบ่อยรองลงมา เป็นท้องเสียจากการให้อาหารที่ไม่สะอาด เช่น ไข่มดแดงและหนอนนก หรือผลไม้ที่ให้นั้นบูดเน่า พบว่านกจะอุจจาระเหลวสีเหลืองหรือสีดำ เหม็นคาวและถ่ายบ่อยครั้ง อุจจาระเหนียวติดก้น นกจะหมดแรงจนเกาะคอนไม่ไหว จะลงมานอนกับพื้นกรง ถ้าพบเช่นนี้รีบไปหาสัตวแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะนกจะเสียชีวิตง่ายมากเมื่อขาดน้ำเพราะถ่ายท้องเสียมากเกินไป หรือถ้าปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปก่อน ก็ต้องป้อนน้ำเกลือแร่ให้บ่อยๆ และให้ความอบอุ่น และต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ที่สะอาด ๆ จากนั้นค่อย ๆ ป้อนน้ำเกลือแร่บวกกับผลไม้บดให้กินทีละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ สักหนึ่งถึงสองวัน จนนกเริ่มมีแรงมากขึ้น